ปัญหาขยะล้นเมือง ผลักดันให้เกิดแนวทาง Waste to Energy คือ การนำขยะมาผลิตเป็นพลังงาน ภายใต้แนวคิด Circular Economy หรือระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ามาใช้ โดยการให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อที่ความยั่งยืนในอนาคตด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี
ทำให้มีการนำขยะหมุนเวียนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้า เกิดเป็น ‘โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ’ ซึ่งระยะหลังประเทศไทยได้มีการกระตุ้นเรื่องดังกล่าวให้ได้รับการผลักดันให้เป็นหนึ่งในแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 -2579
กรณีตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ การก่อตั้งโครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน (VSPP-MSW) จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานโดยบริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ ACE มีวิสัยทัศน์เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน
การกำจัดขยะในเมืองไทยแบบเดิมโดยหลุมฝังกลบจะก่อให้เกิด “น้ำชะขยะ” ที่เกิดจากการทับถมไหลลงสู่ชั้นใต้ดิน และท้ายที่สุดก็จะไปปะปนกับน้ำบาดาลที่ประชาชนนำไปใช้ในครัวเรือนต่อไป การเกิดขึ้นของโรงไฟฟ้าขยะดังกล่าวเป็นการต่อยอดจากองค์ความเดิมขององค์กรในการทำโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยใช้กระบวนเดียวกัน คือ การเผาเชื้อเพลิงที่มีความชื้น
ทว่า ขยะมีความชื้นมากกว่าชีวมวลมาก จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีกระบวนการผลิตแบบ Direct Incineration คือ การนำขยะไปเผาตรง แตกต่างจากโรงไฟฟ้าขยะทั่วไปที่ใช้กระบวนการ RDF (Refuse Derived Fuel) ที่ต้องคัดแยกขยะที่ไม่สามารถเผาผ่านแรงงานคน มีจุดด้อยที่อาจไม่สามารถคัดแยกได้ 100% จึงมีความเสี่ยงต่อกระบวนการผลิตพลังงาน
พลังงานน้ำ (Hydroelectric Energy) ถือเป็นพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด ที่เกิดจากวัฏจักรของน้ำที่ไหลลงมาจากที่สูงลงสู่แหล่งน้ำ ซึ่งการนำเอาพลังงานน้ำมายังประโยชน์ ด้วยการเปลี่ยนพลังงานน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำให้เป็นกระแสไฟฟ้า
เป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้าโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ผลิตมาจากสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิคอน ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง และไฟฟ้าที่เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตได้จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC)
ชีวมวล (biomass) คือ อินทรียวัตถุที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและ สามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานได้ อินทรียวัตถุเหล่านี้ได้จากพืชและสัตว์ต่างๆ