8 ขั้นตอนวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการผลิตพลังงานจากพลังงานขยะ
แหล่งความรู้
30 พฤศจิกายน 2564
51
0
0

8 ขั้นตอนวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการผลิตพลังงานจากพลังงานขยะ

             การวิเคราะห์ความเป็นไปได้เป็นการพิจารณาถึงศักยภาพ ณ จุดที่จะดำเนินการเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและจัดหาข้อมูลประกอบอื่น ๆ นำมาวิเคราะห์ การสำรวจพื้นที่ วิเคราะห์ประเมินพลังงานไฟฟาจากขยะ วิเคราะห์ประเมินความคุ้มค่า พร้อมทั้งประเมินผลกระทบด้านสังคม และสิ่งแวดลอมเบื้องต้

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาคุณสมบัติของขยะชุมชน
จะแยกออกเป็น 2 หัวข้อหลัก คือ การสำรวจองค์ประกอบทางกายภาพ (Physical Composition) กับการวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมี (Chemical Property) โดยทั่วไปองค์ประกอบทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของตัวอย่างขยะรวมของแต่ละชุมชนจะมีค่าผันแปรอันเกิดจากฤดูกาล (โดยเฉพาะฝน) รวมถึงคุณภาพของขยะในแต่ละพื้นที่ ต้องมีการศึกษาเพื่อหาหนทางรับมือความเสี่ยงปัญหาวัตถุดิบขยะ
ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาด้านทัศนคติและความคิดเห็น และความพร้อมของชุมชน
ในการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะชุมชน ต้องศึกษาทัศนคติและความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาการกำจัดขยะชุมชน และประเมินทัศนคติเบื้องตนที่มีต่อโครงการผลิตพลังงานจากขยะชุมชน กลุ่มเปาหมาย คือ ผูบริหารและผูรับผิดชอบด้านการจัดการขยะจากเทศบาล ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ และบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชนและหน่วยงาน
ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพลังงานจากขยะชุมชน และผลกระทบที่อาจมีต่อสิ่งแวดล้อม
การเลือกใช้เทคโนโลยีในการกําจัดขยะชุมชนถือว่าเป็นโครงการที่ต้องการเงินลงทุนสูงและรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานและการบํารุงรักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง (ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดของโรงงาน) และรายได้ที่ได้มาจากการขายพลังงาน มีปัจจัยหลายประการ เช่น ข้อจํากัดด้านพื้นที่ ค่าแรง ค่าครองชีพ การพิจารณาระบบสายส่งเพียงพอที่จะรับกับเป้าหมายการผลิตหรือไม่ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
การศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบที่อาจมีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งพื้นที่ที่มีปริมาณและองค์ประกอบขยะมูลฝอยที่เพียงพออาจจะไม่เหมาะสมต่อการดําเนินโครงการก็ได้ ดังนั้น ผู้พัฒนาจะต้องมีการศึกษาความเหมาะสมหรือความเป็นไปได้ของโครงการก่อนเลือกพื้นที่ และระบบการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงานที่เหมาะสม หลังจากนั้นจะต้องมีการออกแบบรายละเอียดที่ครบถ้วน รวมทั้งต้องการทําประชาวิจารณ์ตามกฎหมายด้วย และที่สําคัญต้องมีการเสนอรูปแบบการบริหารโครงการที่เหมาะสม เป็นที่ยอมรับทั้งจากผู้ประกอบการและองกรค์ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
ขั้นตอนที่ 4 การหาผู้สนับสนุนทางการเงิน
การลงทุนในโครงการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงานเป็นการลงทุนที่สูง การแสวงหาแนวร่วมทางการเงินเป็นสิ่งจําเป็นที่ผู้พัฒนาโครงการจะต้องมีสัมพันธภาพที่ดีกับสถาบันการเงินหรือแนวร่วมการลงทุนที่เข้มแข็ง
ขั้นตอนที่ 5 การทําสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง
ผู้พัฒนาโครงการจะต้องมีการยื่นความจํานงที่จะขายไฟฟ้า โดยสําหรับประเทศไทยมีระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าสําหรับผู้ผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอยตามข้อกําหนดของ VSPP และ SPP โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตและการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งมีการกําหนดราคารับซื้อไฟฟ้าพื้นฐานและส่วนค่าไฟฟ้าเพิ่ม (adder) ขึ้นอยู่กับประเภท และสัญญาของการผลิตพลังงาน
ขั้นตอนที่ 6 การเข้าใช้พื้นที่ของโครงการ
พื้นที่เป้าหมายโครงการมีศักยภาพในการที่จะนําขยะมูลฝอยมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงาน ผู้พัฒนาโครงการจะต้องมีการประสานการดําเนินงานกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อตกลงร่วมมือกันในการพัฒนา แลกเปลี่ยนข้อมูลที่จําเป็น สถานที่โครงการ ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินโครงการ ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานรวมทั้งการลงทุนและผลประโยชน์ และการบริหารโครงการ
ขั้นตอนที่ 7 การก่อสร้างระบบการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงานและเดินระบบ
ผู้พัฒนาโครงการจะต้องตกลงกับ อปท. ในรูปแบบของการพัฒนาโครงการ เช่น สัมปทาน สัญญาบริการ จะต้องมีการทําหนังสืออนุญาตในการใช้พื้นที่ในการก่อสร้างโครงการ (ในกรณีที่เป็นที่ดินของส่วนราชการ) และต้องขออนุญาตในการก่อสร้างตามข้อกําหนดของทางราชการต่าง ๆ เช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง เทศบาล หรืออื่น ๆ ก่อนทําการก่อสร้าง โดยจะต้องเสนอแผนการก่อสร้างและเดินระบบให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากนั้นเริ่มการก่อสร้าง ต้องเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพด้านวิศวกรรม หลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จให้มีการทดลองเดินระบบตามระยะเวลาที่กำหนดในขณะเดียวกันจะต้องมีการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ อปท. อย่างเหมาะสม
ขั้นตอนที่ 8 ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยปกติในการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยจากครัวเรือนในชุมชนต่าง ๆ ในเขตบริการของเทศบาลเพื่อขนส่งไปยังสถานที่กำจัดขยะที่เหมาะสมทั้งนี้ในเขตพื้นที่อาจมีการจ้างเหมาให้เอกชนเข้ามารับบริการเก็บขนส่งขยะก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่ในกำกับดูแลของเทศบาลดังนั้น ผู้พัฒนาโครงการจะต้องมีการทำสัญญาตกลงกับอปท. ในการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยเข้าสู่ที่ตั้งโครงการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงว่าจะเป็นในรูปแบบใด และการคิดค่าบริการต่าง ๆ ตกลงกันอย่างไร อย่างชัดเจน
ขอขอบคุณที่มา : คู่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน โดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, กระทรวงพลังงาน
::: รูปภาพที่เกี่ยวข้อง :::
R
ELATED NEWS
ข่าวที่น่าสนใจ
Hover Icon
30 พฤศจิกายน 2564
1894
โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power Plant)

เป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้าโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ผลิตมาจากสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิคอน ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง และไฟฟ้าที่เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตได้จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC)

Hover Icon
24 มกราคม 2565
8
พลังงานหมุนเวียน ที่สุดแห่งพลังงานสะอาด

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า พลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ เพราะเป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ จึงนับเป็นทางเลือกใหม่ที่เข้ามาทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

Hover Icon
30 พฤศจิกายน 2564
12
พลังงานชีวมวล (Biomass Energy)

ชีวมวล (biomass) คือ อินทรียวัตถุที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและ สามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานได้ อินทรียวัตถุเหล่านี้ได้จากพืชและสัตว์ต่างๆ